ในช่วงวิกฤตโรคระบาดอย่างโควิด การเดินทางจะไปไหนมาไหนก็ยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะกับใครที่มีแฟนอยู่กันคนละประเทศ จะเดินทางไปแต่ละทีก็เป็นเรื่องยากถึงยากที่สุด การไม่ได้พบเจอกัน ไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบ Face to Face อาจเป็นเหตุผลให้ความสัมพันธ์ห่างกันออกไปได้ง่ายที่สุด โดยเมื่อล่าสุด มีข่าวออกมาว่าประเทศอังกฤษมียอดการหย่าร้างพุ่งสูงขึ้นหลังจากมีการประกาศให้ประชาชนกักกันตัว เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการอาศัยอยู่ด้วยกันทุกวันจะไม่เกิดปัญหานะคะ เคยได้ยินไหมคะ เจอหน้ากันทุกวันมันก็มีเบื่อ มีหาเรื่องทะเลาะกัน เกิดความเครียดไม่รู้ตัว วันนี้จึงจะมาแนะนำการเอาตัวรอดให้ความสัมพันธ์ของเราทั้งคู่ยังดำเนินต่อไปได้
ความสัมพันธ์ VS สถานการณ์เลวร้าย
อย่างที่เราทราบกันดีว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม การไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กันจริง ๆ จึงสร้างความอึดอัดใจให้กับคู่รักหลายคู่ไม่ใช่น้อย บางคู่เริ่มสื่อสารกันไม่เข้าใจ บางคู่มี space ระหว่างกันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในขณะเดียวกันคู่ที่อยู่ด้วยกันตลอดก็ใช่ว่าจะไม่พบปัญหา เพราะจนท้ายที่สุดก็จบด้วยการลาจาก แยกย้ายกันไปเช่นกัน เคยมีนักจิตวิทยาคนหนึ่งกล่าวว่า “เหตุการณ์เลวร้ายมักส่งผลกับความสัมพันธ์อยู่สองแบบด้วยกัน คือ ถ้าไม่ทำให้คนใกล้ชิดกันมากขึ้น ก็ทำลายความสัมพันธ์ไปเลย” อ่านถึงตรงนี้ ลองทบทวนดูกันค่ะว่าความสัมพันธ์ของคุณกำลังเป็นแบบไหน ในความสัมพันธ์แบบคู่รักนั้น วิกฤตหรือสถานการณ์ที่เลวร้ายจะช่วยให้เราเห็นคุณค่าของอีกฝ่ายและทำให้เรามีความคิดไปในแนวที่ว่า คนรักของเราคือคนที่เราอยากใช้ชีวิตด้วยกันไปตลอดและยังพร้อมจะเผชิญหน้ากับปัญหาอื่น ๆ ในอนาคตได้ หรือไม่ในทางตรงกันข้าม ก็เป็นการสอนให้เราตระหนักได้ว่าเราเลือกผิดคนแล้วค่ะ ในการศึกษาด้านจิตวิทยา ทำการสังเกตคู่รักกลุ่มตัวอย่างว่าเมื่อใดที่มีวิกฤตที่คนส่วนมากต้องเจอพร้อมกัน เช่น การกักตัว หรือ ภัยธรรมชาติ มาเป็นตัวแปรสำคัญในการบังคับให้คู่รักต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้นเป็นพิเศษ สิ่งที่ตามมามีอยู่สองอย่าง ไม่อัตราการเกิดเพิ่มขึ้น ก็อัตราการหย่าร้างสูงขึ้นนั่นเอง
ทำไมการเผชิญหน้ากับวิกฤตจึงเป็นชนวนไปสู่การเลิกรา
ในคู่แต่งงานหรือคู่ที่อาศัยอยู่ด้วยกัน หลายคนอาจจะคิดว่าการเผชิญหน้ากับวิกฤตด้วยกันมันก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่าต่างคนต่างต้องเผชิญหน้าตามลำพังไม่ใช่หรือ แต่จริง ๆ แล้วมีปัจจัยมากมายที่เป็นจุดแปรผันให้ความสัมพันธ์พังลงดังนี้
1. ปัญหาเก่าที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข
การที่คนเราต้องอยู่แต่ในบ้านทุกวัน เจอหน้ากันทุกวัน ทำกิจกรรมร่วมกันทุกวัน เนื่องจากไม่สามารถออกไปพบปะผู้คนข้างนอกได้ หรือไม่สามารถที่จะปลีกวิเวก มีเวลาส่วนตัวในการทำกิจกรรมคนเดียวบ้าง มีพื้นที่ให้ได้หายใจเพียงคนเดียว กลายเป็นเรื่องที่แสนจะอึดอัด ยิ่งหากคู่ใดมีปัญหาที่คาราคารังมาก่อนหน้านี้แล้วไม่เคยได้แก้ไขมันเลย เลือกที่จะหนีมากกว่าที่จะแก้ ยิ่งหนักเลยค่ะ เมื่อต้องถูกกักตัว มาเจอหน้ากันตลอดเวลา การจะหนีก็เป็นไปได้ยาก ส่งผลให้คู่รักถูกบังคับให้เผชิญหน้ากับปัญหาที่ทั้งคู่พยายามหลีกเลี่ยงมาตลอด ก่อให้เกิดเป็นความเครียดและความอึดอัดใจระหว่างกัน
2. ปัญหาใหม่ที่เข้ามา
บางคู่การใช้เวลาร้วมกันก่อนหน้านี้อาจถูกจำกัด เช่น ได้เจอหน้ากันเฉพาะหลังเลิกงาน หรือบางคนต้องไปทำงานต่างจังหวัด นาน ๆ จะได้เจอกันที และเมื่อต้องมาอยู่ด้วยกัน เจอหน้ากันตลอดเวลา ตัวตนหรือบางมุมที่ไม่เคยได้เห็นก็จะปรากฏให้เห็น พูดง่าย ๆ คือ การอยู่ด้วยกันตลอดเวลาจะทำให้เราเห็นตัวตนที่แท้จริงของอีกฝ่ายมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่เราจะรับได้ อาจจะเป็นเรื่องที่เล็กน้อย แต่เมื่อสะสมวันละนิด ทุกวัน ๆ ก็สามารถกลายเป็นปัญหาก้อนโตขึ้นมาได้เช่นกัน เช่น ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ขัดแย้งกัน คู่ที่แก้ปัญหาไม่ได้ ก็จะลงท้ายด้วยการทะเลาะกัน ใช้การปะทะ แตกหัก และนำไปสู่การเลิกรา
คำแนะนำเบื้องต้นเพื่อฝ่าวิกฤตความสัมพันธ์ช่วงโควิด
สถานการณ์โควิดก็มาพร้อมกับความตึงเครียดในหลาย ๆ ด้านที่พากันปะดังปะเดเข้ามาพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น การกลัวติดโรค ภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง กลายเป็นความกังวลที่รุมเร้า จนนั่นสามารถระเบิด หวยออกที่ความสัมพันธ์ได้ หากทั้งคู่ต่างเอาปัญหาต่าง ๆ มาโยนใส่กัน เราจึงมีความแนะนำเบื้องต้นมาฝากกันค่ะ
1. กำหนดขอบเขตอย่างชัดเจน
การกำหนดขอบเขตนี้ไม่เพียงแต่ได้ผลดีในช่วงวิกฤตนะคะ แต่ยังรวมถึงในช่วงเวลาปกติด้วย เราควรกำหนดหรือเซ็ตลิมิตของตัวเองกับคู่ของเราว่า อะไรที่ทำแล้วเราไม่โอเค อะไรที่เกินไป ซึ่งอีกฝ่ายควรต้องเคารพในข้อจำกัดนั้น จงจำไว้ว่า “ในความสัมพันธ์ ไม่มีเรื่องไหนที่เล็กน้อย” เราหรือคู่ของเราอาจจะทำอะไรเล็กน้อย ซึ่งทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจโดยไม่รู้ตัว ทั้งคู่ควรบอกกล่าวให้อีกฝ่ายรับรู้และสื่อสาร เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน อาจจะลองเขียน list เป็นข้อ ๆ ให้อีกฝ่ายดู รวมถึง ควรให้อีกฝ่าย list ขอบเขตและข้อจำกัดของเขามาให้เราดูด้วยเช่นกัน เช่น
– อย่าถอดกางเกงในเป็นเลขแปด เอาลงตะกร้าผ้าด้วย
– มีอะไรก็พูดตรง ๆ อย่ามีความลับระหว่างกัน
– เวลาโกรธกัน ไม่พูดคำหยาบคายใส่กัน
2. แบ่งหน้าที่
ควรแบ่งหน้าที่ให้ทุกคนมีหน้าที่ที่เท่าเทียมกัน เพื่อที่ภาระงานภายในบ้านจะได้ไม่ต้องตกอยู่ที่คนใดคนหนึ่ง เพราะหลายคู่ทะเลาะกันเพราะการเกี่ยงกันทำงานภายในบ้าน การแบ่งหน้าที่นี้ยังช่วยให้เราทั้งคู่ไม่รู้สึกว่าว่างจนเกินไปด้วยค่ะ
3. ปรับทัศนคติและให้เวลาในการปรับตัว
จากสถานการณ์โคดวิดทำให้หลายคนต้องเปลี่ยนการใช้ชีวิตจากหน้ามือเป็นหลังมือ แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงต้องนำมาซึ่งการใช้เวลาในการปรับตัว บางครั้งเราหรือคู่ของเรายังไม่คุ้นชินกับไลฟ์สไตล์แบบนั้น หากเห็นอะไรที่ขัดหูขัดตา ควรปิดตาข้างหนึ่ง และให้อภัย พยายามเข้าใจซึงกันและกันให้มาก ๆ หากรู้สึกกดดันหรือโกรธมาก ให้ถอยออกมาก่อน ให้เวลาทั้งกับตัวเราและเขา พออารมณ์เย็นลง ค่อยมาจับเข่าคุยกันด้วยเหตุผล
พอมานั่งดูกันจริง ๆ เจ้าวิกฤตโควิดไม่ได้มาทำลายความสัมพันธ์แต่อย่างใดเลย แต่มาทดสอบและสร้างความแข็งแรงให้กับความสัมพันธ์ของเราว่าเราจะสามารถพาความสัมพันธ์นี้ให้รอดได้หรือไม่ ซึ่งทั้งหมดก็อยู่ที่การเรียนรู้ ปรับตัว และทำความเข้าใจระหว่างกัน
buy accutane 40mg online – order absorica generic linezolid buy online
buy amoxicillin tablets – buy diovan pills for sale ipratropium canada